คำค้นหายอดฮิต
คำที่คุณใช้ค้นหาล่าสุด
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ฟังอย่างไรไม่ให้จม (ไปกับเรื่องที่รับฟัง)

ฟังอย่างไรไม่ให้จม (ไปกับเรื่องที่รับฟัง)

11 เม.ย. 2567
ฟังอย่างไรไม่ให้จม (ไปกับเรื่องที่รับฟัง)

ปฏิเสธไม่ได้ว่า HR นั้นต้องทำงานกับคนจำนวนมาก และต้องรับฟังผู้คนที่เราติดต่อประสานด้วย มิหนำซ้ำ บางครั้งยังต้องฟังปัญหาของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัว ปัญหากับเพื่อนร่วมงาน กับเจ้านาย และอีกสารพัดปัญหาที่ยากจะหลีกหนี

ทว่า หลายครั้งการรับฟังเรื่องราวของคนอื่นมากๆ ทำให้เราอินหรือจมไปกับเรื่องราวเหล่านั้น พลอยทำให้เครียดและจิตตกไปด้วย เมื่อเกิดสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น เราควรรับฟังอย่างไร เพื่อไม่ให้ต้องได้รับผลกระทบจากการฟังเรื่องราวเหล่านั้น

 

3 เทคนิคที่ช่วยให้เราฟังอย่างมีประสิทธิภาพและไม่จมไปกับอารมณ์ของเรื่องที่รับฟัง

 

1_แยกจับประเด็นข้อมูลและรับรู้อารมณ์ความรู้สึก.webp

 1.แยกจับประเด็นข้อมูลและรับรู้อารมณ์ความรู้สึก

พยายามแยกโหมดการฟังเป็น  2 โหมด คือ “ข้อมูล” เช่น ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เกี่ยวกับใคร ผลเป็นอย่างไร  และ “ความรู้สึก” คนพูดรู้สึกอย่างไร ในขณะที่เล่า เช่น โกรธ โมโห เสียใจ น้อยใจ เป็นต้น

 

 2. ฟังเหมือนดูละครเวที

จินตนาการว่าเรานั่งอยู่ในโรงละครและสิ่งที่เรากำลังฟังเป็นเรื่องที่กำลังเล่นอยู่บน เวที การฟังแบบนี้ทำให้เราถอยออกมา มีระยะห่างระหว่างเรื่องที่เราได้ยินทำให้ เราเห็นภาพรวมและเห็นความสัมพันธ์ของ คนที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้นจินตนาการว่าเรานั่งอยู่ในโรงละครและสิ่งที่เรากำลังฟังเป็นเรื่องที่กำลังเล่นอยู่บนเวที การฟังแบบนี้ทำให้เราถอยออกมา มีระยะห่างระหว่างเรื่องที่เราได้ยินทำให้เราเห็นภาพรวมและ เห็นความสัมพันธ์ของคนที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น

 

2_ฟังเหมือนดูละครเวที.webp
3_ถอนตัวด้วยคำถามตัดใจ.webp

3. ถอนตัวด้วยคำถามตัดใจ

ถ้าใช้เทคนิคใน 2 ข้อแรกแล้วยังทำให้ เครียดหรือมีอารมณ์ตกค้างในใจ ให้ถาม ตัวเองว่า “เรื่องนี้ส่งผลกับเราอย่างไร” และ“เรื่องนี้สำคัญกับเรามากน้อยแค่ไหน” หลายๆ ครั้งเรื่องที่เราเครียด เรากังวลนั้น ไม่เกี่ยวกับเราเลย เราทุกข์ใจเรื่องคนอื่น หรือถ้าเกี่ยวข้องกับเรา การประเมินระดับความสำคัญจะช่วยให้เราตระหนักว่าเราควรใส่ใจกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหนจึงจะเหมาะสม

 

Image | rabbit cash
ผู้เขียน
เพชร ทิพย์สุวรรณ
อดีต Corporate HR ที่ชอบเม้ามอยเทคนิคและเคล็ดลับการทำงานผ่านตัวหนังสือ ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการคัดเลือก พัฒนาบุคคลากรของ ALERT Learning and Consultant