คำค้นหายอดฮิต
คำที่คุณใช้ค้นหาล่าสุด
ผลิตภัณฑ์แนะนำ

การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม

Image | rabbit cash

RB_Debt_management_06.webp
  1. ได้รับสิทธิ์ 1 ครั้ง* ต่อ 1 บัญชีสินเชื่อ
  2. การรายงานข้อมูล การเข้ามาตรการในเครดิตบูโร (NCB)
  3. ระงับวงเงินสินเชื่อเดิม แต่เมื่อเข้าร่วมโครงการแล้ว อาจได้รับวงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉิน

* สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม

RB_Debt_management_08.webp

ประโยชน์ที่จะได้รับ จากการเข้าร่วมมาตรการ ปิดจบหนี้เรื้อรัง

  • ระยะเวลาปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี
  • อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
  • เงื่อนไขผ่อนไหว เหมาะสมกับรายได้
  • แต่ต้องปิดวงเงินสินเชื่อของบัญชีที่เข้าร่วม เพื่อให้สามารถปิดจบหนี้ได้จริง

ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้

RB_Debt_management_07.webp

ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหน้าที่ 
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง* ผ่านช่องทางปกติที่ผู้ให้บริการใช้สื่อสารข้อมูลกับลูกหนี้
*เฉพาะการเตือนครั้งแรกภายในเดือนเมษายน 2567 กำหนดให้เตือนอย่างน้อย 1 ช่องทาง

ช่องทางการแจ้งเตือน

  • ลูกหนี้เรื้อรัง (general PD) แจ้งเตือนอย่างน้อย 1 ช่องทาง (ช่องทางใดก็ได้)
  • ลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) แจ้งเตือนอย่างน้อย 2 ช่องทาง

1. จดหมาย หรือ อีเมล
2. SMS หรือ LINE หรือ Mobile application
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย

RB_Debt_management_05.jpg

ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรกับลูกหนี้บ้าง?

ต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับภาระหนี้ และข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ให้ลูกหนี้ทราบอย่างครบถ้วน เช่น

  • ระยะเวลาค้างชำระ
  • ค่าธรรมเนียมการทวงถาม
  • เบอร์ติดต่อการชำระหนี้
  • ช่องทางขอคำปรึกษา
  • สิทธิ/วิธีการ/ช่องทางร้องเรียน
    ห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้

RB_DEPT_MAMAGE_05.jpg

หากเคยปรับโครงสร้างหนี้ก่อนเป็นหนี้เสีย แต่ตอนนี้จ่ายไม่ไหวจนกลายเป็นหนี้เสีย ก็ยังสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ แต่หากเคยปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งก่อนและหลังเป็นหนี้เสียแล้ว ยังสามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้เป็นรายกรณี

หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิ์ขอปรับโครงสร้างหนี้ #ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และ #หลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 มกราคม 2567 

RB_DEPT_MAMAGE_04.jpg

มีหนี้หลายก้อน จัดการได้อย่างไร

  • เรียงลำดับหนี้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดจากมากไปน้อย
  • วางแผนจัดการหนี้ตามความสามารถ
  • คุยและเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ โดยแจ้งข้อมูลภาระหนี้ทั้งหมดให้ครบถ้วน

 

เจ้าหนี้แต่ละรายจะพิจารณาภาระหนี้ทั้งหมด และเสนอเงื่อนไขตามความสามารถในการชำระหนี้ และมีเงินเหลือเพียงพอในการดำรงชีวิต

 

หนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ค้างชำระนานเกิน 120 วัน โดยยอดหนี้รวมกันไม่เกิน 2 ล้านบาท สามารถติดต่อคลินิกแก้หนี้ เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้
ไว้ที่เดียวได้

RB_Debt_management_03_ADJ_size.jpg

ต้องรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจ เช่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการผ่อนชำระ เงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงข้อดีข้อเสียรวมถึง
ผลที่จะเกิดขึ้นหากผิดนัดชำระหนี้ มีทางเลือกที่เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ มีเงินเหลือเพียงพอในการดำรงชีพ แรบบิทแคช ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมปรับโครงสร้างหนี้ กู้เมื่อจำเป็น และชำระคืนไหว

ห้ามเรียกเก็บ-Prepayment-fee-RB_Debt_management_02_ADJ_size.jpg

ปิดหนี้ก่อนกำหนดได้ ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ Prepayment fee สำหรับสินเชื่อภายใต้การกำกับของแบงก์ชาติ ดังนี้

  • สินเชื่อส่วนบุคคล
  • สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ (Nano finance)
  • สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
  • สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
  • สินเชื่ออุปโภคบริโภคอื่น ๆ เช่น สินเชื่อสวัสดิการ


*ยกเว้นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ผู้ให้บริการยังเรียกเก็บ prepayment fee ได้ในกรณีรีไฟแนนซ์ในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสได้ดอกเบี้ยต่ำในช่วง 3 ปีแรก
ทั้งนี้ แรบบิทแคช ไม่มีการเรียกเก็บ Prepayment fee

สัญญาณปัญหาหนี้-RB_Debt_management_01_ADJ_size.jpg

พี่ต่ายชวนทำ Checklist  ดูว่ามีสัญญาณอยู่ในภาวะเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหวหรือยัง? สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา เช่น จ่ายแต่ขั้นต่ำ จ่ายช้า กดบัตรเงินสดมาจ่ายคืนหนี้อื่น รายได้ไม่พอรายจ่าย ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้มาคุยกับพี่ต่ายได้เลยครับ

image 135.png

ปัญหาหนี้มีทางออก! แรบบิทแคช สามารถช่วยปรับหนี้ได้ โดยจะเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ที่มีปัญหา ดังนี้ 
1. ก่อนเป็นหนี้เสีย (NPL)  อย่างน้อย 1 ครั้ง เมื่อเริ่มมีสัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา โดยให้ลูกหนี้มีเวลาตัดสินใจปรับโครงสร้างหนี้ก่อนกลายเป็น NPL
2. หลังเป็นหนี้เสีย ( NPL) อย่างน้อย 1 ครั้ง  เพื่อให้ลูกหนี้มีเวลาตัดสินใจ ก่อนถูกโอนขายหนี้หรือยึดทรัพย์ แรบบิทแคช จะไม่มีการโอนขายหนี้ก่อนครบกำหนด 60 วัน หลังเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้